Monday, May 22, 2006

===> ENGLISH TIPS <===



วิธีการอ่านอย่างเร็ว

1. วิธีการอ่านแบบผ่านตา

การอ่านแบบผ่านตา เป็นวิธีการอ่านข้อความแบบเร็วและอ่านข้ามเป็นตอนๆ ซึ่งการอ่านแบบนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก2 ประการ คือ เพื่อเก็บใจความสำคัญโดยทั่วไป และเพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น วิธีการอ่านแบบผ่านตาที่ควรปฎิบัติมีดังนี้

1. การอ่าน 2-3 คำแรก และ 2-3 คำสุดท้ายในแต่ละประโยค หมายเหตุ : โดยจะอ่านข้ามหรือมองผ่านส่วนที่คิดว่าไม่มีความสำคัญในประโยคนั้นไปเลย

2. การคิดและคาดการแนวความคิดของเรื่องที่อ่านไว้ล่วงหน้าก่อนการอ่านจริง หมายเหตุ : การอ่านในลักษณะนี้จะอ่านในเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น

3. การอ่านส่วนแรกของประโยคอย่างเร็ว หมายเหตุ : ในขณะที่อ่านให้สายตาจับอยู่ทางด้านซ้ายมือของแต่ละประโยคตลอดเวลาโดยจะอ่านเพียง 1/3 ของทุกประโยค

4. การอ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ หมายเหตุ : เป็นการอ่านเกือบทุกประโยค โดยสายตาจับอยู่ที่ตอนกลางของหน้าหนังสือเท่านั้น

5. การอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญซึ่งอาจมีสัญลักษณ์พิเศษ หรือใช้การเน้นข้อความ หมายเหตุ : จุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเก็บรายละเอียดมากกว่าที่จะจับใจความสำคัญ


2. การอ่านแบบพิจารณา

การอ่านแบบพิจารณา มิใช่การอ่านในแบบที่เข้าใจกันโดยทั่วไปแต่เป็นการอ่านที่ต้องใช้ความเร็วสูงมากโดยจะต้องจับประเด็นที่ต้องการให้ได้ ดังนั้นในขณะที่อ่านจึงต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังค้นหาอะไรอยู่ หากเป็นข้อความยาวๆควรอ่านเร็วๆก่อน หนึ่งครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่าตอนใดบ้างที่สำคัญแล้วจึงค่อยกลับมาอ่านตอนนั้นอย่างคร่าวๆเพื่อจับประเด็นอีกครั้งหนึ่ง

การอ่านแบบพิจารณาเป็นกลวิธีการอ่านอย่างเร็วและคร่าวๆโดยมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อจะค้นหาข้อมูลหรือคำตอบเฉพาะคำถามบางข้อเท่านั้น เช่น การค้นหารายชื่อในสมุดโทรศัพท์ เป็นต้น ดังนั้นเมื่ออ่านแบบพิจารณรจึงมุ่งเพียงหารายชื่อตัวเลขหรือข้อมูลบางอย่าง เพื่อใช้อ้างอิงหรือสนับสนุนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ต้องการให้กระจ่างยิ่งขึ้น


*** หมายเหตุ : การอ่านแบบพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเข้าใจหรือรู้ความหมายของคำศัพท์ในข้อความนั้นๆหมดทุกคำ เพราะจุดมุ่งหมายนั้นคือ ต้องการหาคำบางคำตัวเลขบางตัวหรือความคิดบางอย่างเท่านั้นการจดจำเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านได้ เป็นเพียงความสามารถในขั้นต้นเท่านั้น แต่ความสามารถที่สูงกว่าและมีประโยชน์มากกว่า คือ ความสามารถในการเข้าใจเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์และตีความในประเด็นต่างๆได้ เช่นรู้ว่าความคิดหลัก ( Main Idea ) ของเรื่องคืออะไร

No comments: